สรุป ซื้อกองทุนผ่าน บัญชี บลจ. และ บล. ต่างกันอย่างไร?

ภาษาชาวบ้าน ซื้อกับแบงค์ หรือ ผ่านโบรก !!!

ช่วงสิ้นใกล้สิ้นปี ผู้มีเงินได้ เช่น พนักงานออฟฟิต มักจะพูดถึง การลดหย่อนภาษีกัน หลายๆคนพูดถึง LTF, RMF การซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี พูดถึง Provident Fund บ้าง และผลิตภันณ์อื่นๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์ให้กับการลดหย่อนภาษี

ผมเองซื้อ LTF เกือบทุกเดือน ด้วยวิธี DCA (Dollar cost averaging) เพื่อสร้างตัวเลขต้นทุนเฉลี่ย ให้เทียบเท่ากับ Brenchmark หรือ พูดง่ายๆ ก็ คือ ราคาอ้างอิงของกองทุนนั้นๆ กับ SET Index

มาถึงช่องทางการซื้อกองทุน

เราสามารถซื้อกองทุนที่เราต้องการ ผ่านทาง 2 ช่องทางหลัก

(1) บลจ. หรือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

(2) บล. บริษัทหลักทรัพย์ หรือ นายหน้าโบรกเกอร์

ที่มา: บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

ยอมรับว่าตอนแรก ผมโครต งง ว่า มันต่างกันยังไง ทั้งสองก็ซื้อกองทุนได้เหมือนกัน แล้วซื้อผ่านใครดี ใครดีกว่ากัน ความน่าไว้ใจหล่ะ ก็สามารถสรุปได้ สั้นๆ คือ

ผู้ออกกองทุน (และเป็นผู้รับซื้อ/ขายกองทุน)= บลจ.

คนรับซื้อ/ขายกองทุน = บลจ. หรือ บล.

**** บลจ. หลายที่ สร้างบริษัท บล. เพื่อบริการซื้อ-ขายกองทุน

เอาหล่ะ!! มาถึงตรงนี้ ถ้าหากเราซื้อ กองทุน ผ่านทาง บล. พวกแบงค์ใหญ่ๆ ก็ไม่น่าสับสนมากนัก

เช่น นาย ตู่

  • สนใจ B-LTF
  • ผู้ออกกองนี้ คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด
  • เวลาผมไปซื้อผมก็ติดต่อ สาขา

กรณีนี้ปกติ ไมมีความสับสนใดๆ เปิดบัญชี -> ซื้อ -> รอจัดสรรหน่วยลงทุน จบ!

แต่!!!! B-LTF ดันสามารถซื้อผ่าน บล.โนมูระ / บล.ฟิลลิปส์ /Wealthmagik รวมไปถึง บล.ที่ไม่ได้กล่าวถึง

บริการ ซื้อ-ขาย กองทุน ผ่านทาง บล. เราต้องรู้อะไรบ้าง

ตัวอย่างบริการจาก บล.โนมูระ

จะเห็นได้ว่าเปิดบัญชีกับ โบรกเกอร์นี้ ซื้อได้หลายกองของ บลจ เลยทีเดียว

จากภาพเรามีบัญชีซื้อขายกองทุน ของ บล.โนมูระ แล้วหากเราต้องการซื้อ กองทุน เช่น CIMB Principal จาก บลจ. CIMB

หมายความว่าใน เราซื้อกองทุนตัวนี้ ผ่านตัวแทน หรือ โบรกเกอร์ สิ่งที่เราต้องรู้ต่อมา คือ การซื้อขายผ่านทางตัวแทน มีบัญชี อยู่ 2 แบบ คือ

ถ้าเราซื้อกองทุนทั่วไป

บัญชีของเราจะเป็นรูปแบบ Omnibus คือ บริการซื้อขายกองทุนแบบไม่เปิดเผยชื่อกับ บลจ. บัญชีประเภทนี้ เหมือนกับการฝากเงิน บล. ปัจจุบันไปลงทุนกับ บลจ. นั้นๆ

ข้อมูลทางบัญชี บล. จะแยกเงินจากผู้ลงทุน ออกจาก รายได้ของกิจการ แล้วนำเงินไปลงทุน กับ บลจ. นั้นๆ ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่า บล. จะเอาเงินของผู้ลงทุนไปนอกลู่นอกทาง

สรุป บัญชีประเภทนี้ คือ ลงทุนแบบไม่เปิดชื่อกับเจ้าของกองทุน แต่จะเป็นการฝาก โบรกเกอร์ไปลงทุนให้ ซึ่งชื่อของผู้ลงทุนจะปรากฏในรูปแบบชื่อของโบรกเกอร์

ถ้าเราซื้อกองทุน LTF, RMF

บัญชีประเภทนี้จะต่างกับ Omnibus เป็นบัญชีที่ต้องเปิดเผยชื่อผู้ลงทุนกับทาง บลจ.

ข้อแตกต่าง ของ บัญชีสองประเภทนี้ ที่เห็นได้ชัด คือ เอกสารสรุปพอร์ตประจำเดือน หรือ ปี แบบ ominibus ทางโบรกเกอร์จะออกเอกสารสรุปให้ ส่วนแบบที่ไม่ใช่ omnibus ทาง บลจ. จะออกให้เอง รวมถึงโปรโมชันต่างๆที่ได้รับจากทางโบรกเกอร์จะแตกต่างกับทาง บลจ. นิดหน่อย

แล้วแบบไหนดี?

ถ้าเราต้องการมีบัญชีเดียว แต่สามารถซื้อขาย กองทุน ได้หลากหลาย บลจ. การเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ ก็คงเป็นคำตอบที่เหมาะสม เพราะ มันคือ one-stop-service

แต่คนส่วนใหญ่ยังกังวลอยู่ว่า ซื้อขายผ่านโบรกเกอร์เขาจะโกงเราไหม คำตอบ คือ เรามี กลต. รับรองอยู่แล้ว ซึ่งกฏหมายนั้นครอบคลุมถึงขั้น หากโบรกเกอร์แอบหนี ปิดกิจการ กลต. ก็มีกฏหมายรับรอบอยู่

แต่เพื่อความสบายใจ ก็ยังสามารถเปิดบัญชีซื้อขายกับ บลจ. นั้นๆได้เลยที่สาขา หรือ แบงค์

แต่ยุคนี้ 4.0 เราสามารถเปิดบัญชีผ่านโบรกเกอร์ ที่เราชอบ ไม่ชี้นำเนาะ แล้วโหลดแอพเขามา กดๆ เพียงเท่านี้เราก็สามารถ จัดการกองทุน ผ่านมือถือเราได้ สบาย~~~

--

--

Teerapong Singthong 👨🏻‍💻
Teerapong Singthong 👨🏻‍💻

Written by Teerapong Singthong 👨🏻‍💻

Engineering Manager, ex-Solution Engineering Lead at LINE | Tech | Team Building | System Design | Architecture | SWE | Large Scaling System

No responses yet